เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • Tags
  • ปฏิทิน
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก

  • สยามมงคลอมูเล็ท »
  • กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
ที่นี่เรามีพระเครื่องพระบูชา และวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังหลากหลายให้ได้เลือก

กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
ประว้ติพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง / เหรียญในหลวง ปี 2522 รุ่น คุ้มเกล้า
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ พฤศจิกายน 22, 2017, 05:05:18 pm »
วัตถุประสงค์ :
เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการให้บริการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 600 ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค
พุทธลักษณะ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมฉายาลักษณ์
ด้านหลัง : มีพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.”
พิธีลงอักขระแผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง ′เหรียญคุ้มเกล้า′
แผ่นแรกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2526 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเถระอีก 60รูป ที่ได้มาร่วมสวดเจริญพระพุทธมนต์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ภายในพระอุโบสถของวัดราชบพิธ
หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป อาทิ
- พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดุลย์)วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ลงอักขระวันที่ 16 กันยายน 2526
- พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 19 สิงหาคม 2526
- พระสุพรหมยานเถร (หลวงปู่พรหมจักร)วักพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน ลงอักขระ 21 สิงหาคม 2526
- พระอุดมสังวรเถร(หลวงพ่ออุตตมะ)วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี ลงอักขระ 5 ตุลาคม 2526
- พระสุนทรธรรมภาณี(หลวงพ่อแพ)วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี ลงอักขระวันที่ 3 ตุลาคม 2526
- พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ลงอักขระ 5 สิงหาคม 2526
- หลวงพ่อเกษม เขมโก วัดป่าช้าไตรรัตนาราม อ.เมือง จ.ลำปาง ลงอักขระ 22สิงหาคม 2526
- พระครูสุวรรณประดิษฐการ(หลวงพ่อจ้อย)วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ลงอักขระ 11 ตุลาคม 2526
- สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เป็นต้น
พิธีเททองหล่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ′หลวงปู่แหวน สุจิณโณ′ มีอายุครบ 97 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณอีก 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ในโอกาสนี้ได้ทรงทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้ว เป็นชนวนนำไปสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้าต่อไป
พิธีพุทธาภิเษก
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร 4 วัน 4 คืน ตั้งแต่วันที่ 6-9 เมษายน พ.ศ.2527 โดยทำการโยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง 108 รูปจากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม 4 คืน อาทิ
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย
- สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย
- หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
- หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
- หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพา สุรินทร์
- หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก
- หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง
- หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
- หลวงพ่อหลุย วัดเจติยาวิหาร
- หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
- หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
- หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
- หลวงพ่อพวง วัดศรีธรรมาราม
- หลวงพ่อพุฒ วัดมณีสถิตย์
- หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน
- หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
- หลวงพ่อคำแสน วัดถ้ำผาเงา
- หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
- หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสะต๋อย เป็นต้น
สำหรับวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า ในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก
แหล่งที่มา :
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 9 เมษายน 2555 และ วันที่ 10 เมษายน 2555
2
ประวัติพระเกจิอาจารย์ / หลวงปู่ครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ สิงหาคม 24, 2017, 11:14:59 pm »
ตำนานพระครูบานันทา หรือพระครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ พระเถราจารย์ผู้มีตบะบารมีแก่กล้าแห่งเมืองลำปาง "พุทธาคมครูบานันทา กับตำนานราหูสุริยันจันทราอันเข้มขลัง"
พระครูบานันทา เป็นพระเถราจารย์ยุคเก่าผู้เรืองเวทย์วิทยาคมแห่งดินแดนภาคเหนือ ผู้มีพุทธาคมอันแก่กล้า มากด้วยบุญญาภินิหาร และท่านยังเป็นปรมาจารย์ผู้สร้างตำนานเครื่องรางอันโด่งดัง "พระราหูแกะกะลาตาเดียว" ท่านเป็นพระผู้เคร่งครัดในธรรมวินัย ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ มีเมตตาแก่ผู้คนทั้งหลาย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตราบจนปัจจุบัน ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม


ประวัติหลวงปู่ครูบานันตา
ครูบาเจ้านันทา นนฺโท เป็นบุตรชายของพ่อเฒ่าคำปา และแม่เฒ่าอินตา พรหมปิงเปา เกิดที่บ้านทุ่งม่านใต้ ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง เกิดเมื่อ พ.ศ.2415 จ.ศ. 1234 ปีเต่าสัน เดือน 10 ขึ้น 10 ค่ำ วันเสาร์ยามกองแลง เวลา 19.30 น. เมื่ออายุได้ 5 ปี บิดามารดาได้บอกว่าลูกนี้ได้อยู่ในครรภ์ของมารดาได้ทศมาส คือ 10 เดือนครบ เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ขอกราบลาบิดามารดาไปเป็นศิษย์วัด บิดาได้มอบให้ท่านเจ้าไชยสารเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งม่านใต้ เป็นเด็กวัดได้หนึ่งพรรษา อายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2427 ปี จ.ศ. 1246 ปีกาบสัน (ปีวอก) เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ ได้ท่านเจ้าธรรมวัฒ วัดหนองร่อง บรรพชา คือครองผ้า ให้ศีล ครูบาธิ วัดบ้านแคร่เป็นพระอุปัชฌายะ เป็นสามเณรได้ 9 พรรษา อายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อพ.ศ. 2435 จ.ศ. 1254 ครูบาสิทธิวังโส วัดหนองหล่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาเจ้าพรหมสโร วัดหลิ่งก้าน เป็นอนุสาวนาจารย์ ครูบาขัตติโย วัดหนองร่อง เป็นพระอุปัชฌายะ ได้ฉายาว่า นันทาภิกขุ
หลวงปู่ครูบานันตาได้เจริญพระกรรมฐานอนุสติ 10 และ สติปัฏฐาน 4 พรหมวิหาร 4 จากท่านครูบาอโณชัย วัดปงสนุกด้านเหนือ และก็ได้ปฏิบับิติมาเป็นลำดับ และท่านเป็นพระที่รักษาธรรมวินัยเคร่งครัด ปฏิบัติสมถะกรรมฐานวิปัสนากรรมฐานตามรอยพระบาทพระศาสดา


ทางด้านการสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ท่านเป็นปรมาจารย์ที่จัดสร้างเครื่องรางของขลังประเภทราหู หรือทางล้านนาเรียกว่า กบกินเดือน และ กบกินตะวัน เป็นศาสตร์พระเวทย์ของเครื่องรางของขลังที่ว่าด้วยการเสริมดวงชะตาราศีดียิ่งนัก

หลวงปู่ครูบานันตาท่านได้จดบันทึกถึงวิธีการสร้างคาถา ยันต์ตลอดจนคาถาที่ปลุกเสกอย่างละเอียดพร้อมด้วยพรรณาสรรพคุณต่างๆไว้ชัดเจน โดยราหู หรือกบกินเดือนและกบกินตะวันของท่านจะสร้างจาก กะลาตาเดียวแกะเป็นรูปพระราหู ด้านหลังลงอักขระเลขยันต์ หลวงปู่ท่านได้ปลุกเสกให้เข้มขลังยิ่งนัก จนปัจจุบันเครื่องรางของขลังราหูของท่านได้รับความนิยมเป็นเครื่องรางของขลังยอดนิยมของวงการนักสะสมเครื่องรางของขลังเลยทีเดียว

หลวงปู่ครูบานันตาท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น เทพเจ้าแห่งเครื่องรางของขลัง ของอาณาจักรล้านนาไทย ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่มีผู้ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสทั่วแผ่นดินล้านนา

ครูบาเจ้านันทา นนฺโท มรณะภาพเมื่อ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2504 อายุได้ 90 ปี



3
ประว้ติพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง / หรียญพระปางลีลา หลังพระนางพญา วัดนางพญา พิษณุโลก ปี พ.ศ. 2514
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ สิงหาคม 02, 2017, 10:09:40 pm »
หรียญพระปางลีลา หลังพระนางพญา วัดนางพญา พิษณุโลก ปี พ.ศ. 2514

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อจัดหาปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา เพื่อเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมแห่งสงฆ์

ได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเศกใหญ่ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) ซึ่งต่อมาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพลโท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัย โดยพิธีเริ่มต้นดำเนินการเมื่อวันพุธ ที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

เป็นพระเครื่องที่สร้างโดย วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก โดยพระอาจารย์ ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินรัตน์

พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในยุคนั้นมีสุดยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศร่วมพิธี อาทิเช่น
หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อฝั้น สำนักสงฆ์ถ้ำขามสกลนคร
หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณ
หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย
หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
หลวงพ่อประมุข วัดจงโก ลพบุรี
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก เพชรบรูณ์
หลวงพ่อสว่าง วัดคหบดี กำแพงเพชร
หลวงพ่อสิงห์ วัดกุญชรวราราม
หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท

มีการถ่ายทอดเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุไปทั่วประเทศตลอดวัน ตลอดคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.05 น.ประกอบพิธีบวงสรวงครูบาอาจารย์ และอดีตเจ้าอาวาสตามด้วยพิธีถวายเครื่องสักการะบูชา
พระพุทธชินราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิธีถวายเครื่องสักการบูชาพระคุณพระรัตนตรัย พิธีบวงสรวงเทพยดาและพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ เริ่มต้นสวดคาถาพระจักรพรรดิ์ตราธิราช พระคณาจารย์นั่งปรกเจริญภาวนาปลุก
เสกตลอดรุ่ง และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมได้กระทำพิธีดับเทียนชัย ณ เวลา 06.05 น.

วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างพร้อมกันรุ่นนี้ได้แก่
-พระพิมพ์นางพญาเนื้อดินเผา มี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ (เข่าโค้ง) และ พิมพ์เล็ก (สังฆาฏิ) โดยอัญเชิญพระฤกษ์ พระราชทานประดิษฐานด้านหลังพระนางพญารุ่นนี้ทุกองค์ ปั้นกดพระด้วยมือและใช้ใบเลื่อยตัดออกทีละองค์ๆ  (ในวงการพระเครื่องเรียกพระเครื่องพิมพ์นางพญานี้ว่า นางพญาอาจารย์ถนอม)


พระเครื่องรุ่นนี้ ปัจจุบันยังมีราคาเช่าหาไม่แพงถือเป็นพระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมเป็นอย่างยิ่ง
4
ประว้ติพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง / วัตถุมงคล 9 มหามงคลชัย หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ จ.นครราชสีมา
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 22, 2017, 01:19:19 pm »
วัตถุมงคล 9 มหามงคลชัย หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ จ.นครราชสีมา
เป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ษ.2540 ประกอบด้วยวัตถุมงคล
-พระสมเด็จปรกโพธิ์ แช่น้ำมนต์
-พระผงรูปเหมือน หลวงปู่คง แช่น้ำมนต์
-พระปิดตา แช่น้ำมนต์
-เหรียญแจกทาน แช่น้ำมนต์

มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาสร้างพระเนื้อผงประกอบด้วย ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมรุ่นต่างๆ ผงพุทธคุณเก่าของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ


พิธีปลุกเสก เมื่อวันที่ 9 ก.พ. พ.ศ.2540 ณ.พระอุโบสถ วัดตะคร้อ โดยพระเดชพระคุณหลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นประธานจุดเทียนชัย
พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกประกอบด้วย
-หลวงพ่อคง วัดตะคร้อ จ.นครราชสีมา
-หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
-หลวงพ่อพูล วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
-หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา
-หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา
และพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมอื่นๆอีกหลายรูป

วัตถุมงคลรุ่นนี้จึงเป็นวัตถุมงคลดีอีกรุ่นหนึ่งที่ควรค่าแก่การบูชาสะสมเป็นอย่างยิ่ง
5
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / Re: ประวัติพระพุทธรูปสำคัญของไทย
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:30:22 pm »
ที่มาของข้อมูล : http://www.dhammathai.org
6
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:29:12 pm »
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม และทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง(พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

หลวงพ่อเพชรนอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามทรงรูปศิลป์แล้ว พระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก หล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ซ้ายสังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปีหลวงพ่อเพชรยังเป็นพระพุทธรูปทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกิตติศัพท์นานัปประการเมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่หลวงพ่อเพชรที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร พลังแห่งความนัยถือ พุทธานุภาพของหลวงพ่อเพชรจะไม่จางหายไปจากหัวใจของชาวพุทธ

ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชรยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่้ครั้งบรรพกาลว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจองทอง เมื่อเดินทัพมาถึงเมืองพิจิตร แม่ทัพก็ได้สั่งให้หยุดพักรี้พลที่เมืองพิจิตร ซึ่งทางเจ้าเมืองพิจิตรก็ได้ให้การต้อนรับปฏิสันถารเป็นอย่างดี ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาหายเหนื่อยแล้ว จึงออกเดินทางจากเมืองพิจิตร แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หา พระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ฝ่ายทางแม่ทัพเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ยุ่งยากนัก จึงรับปากว่าจะหามาให้ตามความต้องการ หลังจากนั้นก็มุ่งสู่จอมทอง เมื่อไปถึงได้ปราบขบถจอมทองจนราบคาบ ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง เมื่อมาถึงเมืองกำแพงเพชรก้ได้ฝากหลวงพ่อเพชรไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองพิจิตรทราบข่าวจึงพร้อมด้วยชาวเมืองพิจิตรเป็นจำนวนมาก ได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งนำความชื่นชมโสมนัสมาสู่ชาวพิจิตรเป็นอย่างมาก

จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามเพื่อนำไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร เจ้าพระศรีสุริยศักดิ์ สหมุเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก จึงได้สั่งให้หระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร ขณะนั้นแสวงหาพระพุทธรูปที่สวยงามตามพระราชประสงค์ เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้นพระยาเทพาธิบดีจึงออกตรวจดูพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปในเมืองพิจิตร ก็พบว่าองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามตามพระราชประสงค์ และเพื่อสะดวกในการขนย้าย จึงได้จ้างชาวณวนคนหนึ่งชื่ออาง ทำการทะล่วงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรการทะลวงหุ่นดินนั้นก็เพื่อต้องการให้น้ำหนักเบา แล้วนำขึ้นเกวียนมาลงเรือชะล่า มีปรำลากจูงด้วยเรือพาย และเมื่อมาถึงเมืองพิษณุโลกก็เทียบท่าอยู่หน้าวัดพระศรีมหาธาตุหลังจากนั้นเจ้าเมืองพิจิตร พระยาเทพาธิบดี ก็ได้ไปกราบเรียนสมุหเทศาภิบาลว่า ได้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว และกราบเรียนต่อไปว่า การนำหลวงพ่อเพชรมาครั้งนี้ชาวเมืองพิจิตรทุกคนมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอันมาก เพราะเสียดายในองค์หลวงพ่อเพชรในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่เดิม เมื่อได้ทราบดังนั้น สมุหเทศาภิบาลจึงได้โปรดทราบตรวจดูพระพุทธรูปก็เห็นว่างดงานจริง ๆ ดังคำบอกเล่าของเจ้าเมืองพิจิตร แต่มีขนาดองค์ใหญ่โตเกินไป อีกประการหนึ่งก็เห็นว่าเป็นการทำลายจิตใจของชาวเมืองพิจิตร จึงได้สั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำกลับไปไว้ที่เมืองพิจิตรตามเดิม การนำเอาหลวงพ่อเพชรกลับมายังเมืองพิจิตรคราวนี้นั้น ไม่ได้นำไปไว้ที่อุโบสถที่วัดนครชุมเหมือนเดิม แต่นำมาไว้ที่วัดท่าหลวง โดยทำปรำคลุมไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อประชาชนรู้ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรกลับมาที่เมืองพิจิตรต่างก็พากันมาปิดทองนมัสการอยู่ที่วัดท่าหลวง จึงได้ปรึกษาหารือกันจะแห่แหนหลวงพ่อเพชรกับไปวัดนครชุมอย่างเดิมส่วนราษฎรทางเมืองใหม่เห็นว่า เมืองพิจิตรได้ย้ายมาตั้งใหม่แล้ว หลวงพ่อเพชรก็ควรจะอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองใหม่ด้วย จึงไม่ยินยอมให้ชาวเมืองเก่านำกลับไปวัดนครชุมเหตุการณ์ตอนนี้มีผู้เล่าขานว่า ขนาดเกิดการยื้อแย่งกัน และถึงขั้นการเตรียมอาวุธเข้าประหัตประหารกัน เดือดร้อนถึงพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ต้องออมห้ามทัพด้วยเดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ประกอบกับชาวเมืองพิจิตรเคารพนับถือท่านมาก ศึกครั้งนั้นจึงยุติลง และได้ชี้แจงว่าจะหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองเท่ากับขนาดองค์จริง เพื่อนำกลับไปให้ชาวเมืองเก่าแทนองค์หลวงพ่อเพชรองค์จริง ส่วนหลวงพ่อเพชรองค์จริงนั้นขอให้ประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวงซึ่งท่านเป็นเจ้าโอวาสอยู่ และถ้าชาวเมืองเก่าจะมานมัสการก็ไม่ไกลเกินไปนัก ชาวเมืองพิจิตรก็เชื่อฟังแต่โดยดีไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวงตราบเท่าทุกวันนี้ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่องค์หลวงพ่อเพชรได้ประดิษฐานที่วัดท่าหลวงนั้น มีคนเล่าสืบต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ซึ่งพระองค์ไดเดปรดเกล่า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ พรองค์จึงมีพระกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงามสมควรที่จะนำไปแทนพระพุทธชินราชได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำองค์หลวงพ่อเพชรไปยังเมืองพิษณุโลก ข่าวการที่ราชการจะนำองค์หลวงพ่อเพชรไปล่วงรู้ไปถึงประชาชน ต่างพากันเสียดายและหวงแหนองค์หลวงพ่อเพชรเป็นอันมาก จึงได้คบคิดกับนายอาง ซึ่งเป็นชาวญวนจัดการทะลวงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรออก เพื่อให้น้ำหนักเบาสะดวกในการขนย้าย เมื่อจัดการทะลวงหุ่นดินออกแล้วก็ช่วยกันย้ายองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อนไว้ในป่า และเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ มิได้หยุดหย่อนข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรเคลื่อนย้าย หาได้พ้นการติดตามและค้นหาของเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง ผลที่สุดก็ใช้อำนาจบังคับให้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาจากเมืองเก่า และได้นำมาพักไว้ชั่วคราวที่วัดท่าหลวง เพื่อรอการนำไปยังเมืองพิษณุโลกชาวเมืองพิษณุโลกก็เช่นเดียวกันกับชาวเมืองพิจิตร เมื่อทางราชการจะนำองค์หลวงพ่อพระพุทะชินราชไปจากพวกเขา ต่างก็พากันหวงแหนโศกเศร้าเสียใจ ร้องให้กันทั่งเมือง เป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ทานเจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล จึงไดนำความเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงทราบก็เห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ระงับการนำพระพุทธชินราชไปกรุงเทพฯ โดยจะหล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน เมื่อหลวงพ่อพุทธชินราชไม่ได้เคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯ องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จนกระทั่งปัจจุบันนี้
7
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:28:46 pm »
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ซึ่งมีฐานะเป็นวัดอารามหลวง

ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 212 ทางไป อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้อล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้

ประวัติการสร้าง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

การประดิษฐาน
เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"

การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"
8
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:28:19 pm »
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
พระนอนวัดคูหาภิมุข ซึ่งประชาชนทั่วไปเรียกว่า พระนอนวัดหน้าถ้ำ ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำวัดคูหาภิมุข อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นพระนอนที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

ตามตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า ในครั้งที่สร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองต่าง ๆ ในแถบนั้น ที่ยังอยู่ในอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรศรีวิชัย อันได้แก่ เมืองพัทลุง ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ป่าหัง และเมืองไทรบุรี ได้ทราบข่าวการสร้างพระบรมธาตุดังกล่าว ใคร่จะร่วมการกุศลด้วย จึงได้พากันนำสิ่งของต่าง ๆ บรรทุกเรือสำเภา แล่นใบมายังเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อจะร่วมสร้างพระบรมธาตุ แต่เมื่อเดินทางมาถึงก็ปรากฎว่า พระบรมธาตุได้สร้างเสร็จแล้ว บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ดังกล่าวเมื่อไม่ได้มีโอกาสร่วมพระบรมธาตุ ก็เดินทางกลับเมืองตนด้วยความผิดหวัง เมื่อเรือแล่นมาถึงชายทะเลแห่งหนึ่ง เห็นมีภูเขาสูงใหญ่อยู่ริมฝั่งทะเลก็พากันจอดเรือแวะพัก แล้วขึ้นไปสำรวจดูเขาลูกนั้น ก็ได้พบถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีความวิจิตรงดงามยิ่งนัก บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นจึงได้ปรึกษาหารือกันว่า เมื่อไม่ได้มีโอกาสสร้างพระบรมธาตุแล้ว ก็น่าจะมาช่วยกันสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นไว้ในถ้ำแห่งนี้ จึงได้ร่วมกันสร้างพระนอนองค์ใหญ่ ขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1300 มีขนาดยาวประมาณ 81 ฟุต รอบองค์พระประมาณ 35 ฟุต พระบาททั้งสองซ้อนกันสูงประมาณ 10 ฟุต

ปัจจุบันเมื่อเวลาผ่านไปประมาณกว่า 1200 ปี ชายฝั่งทะเลได้ถอยห่างจากภูเขาลูกนี้ออกไป ประมาณ 40 กิโลเมตร แต่มีร่องรอยที่แสดงว่าน้ำทะเลเคยท่วมถึงบริเวณนี้ คือมีเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ อยู่ตามผนังถ้ำด้านล่าง

พระนอนองค์นี้มีลักษณะของส่วนประกอบที่แปลกออกไปจากพระนอนองค์อื่น คือมีพญานาคแผ่พังพานอยู่เหนือเศียรพระนอน ทำให้มีผู้สันนิษฐานถึงที่มาของพระนอนองค์นี้ว่า เดิมอาจเป็นเทวรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตามศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังดินแดนส่วนนี้ จึงได้ดัดแปลงเทวรูปดังกล่าวให้เป็นพระพุทธรูปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
9
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:27:42 pm »
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 2 เส้น 5 วา ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนจักรสีห์

จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปราถนา

จากการสันนิฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพักตรหันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก เมื่อมองตลอดทั้งองค์มีความสง่างามมาก พระพักตรงดงามได้สัดส่วน แสดงออกถึงความมีเมตตา

ปัจจุบัน องค์พระนอนอยู่กลางแจ้งไม่มีวิหารคลุมเช่นพระนอนองค์อื่น เนื่องจากวิหารเดิมคงหักพังไปนานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก เสาพระวิหารที่ยังปรากฎอยู่รอบองค์พระนอน รอบ ๆ องค์พระมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้มีความสงบร่มเย็น เหมาะแก่การไปนมัสการให้เกิดความสุข สงบ ตามธรรมชาติ ซึ่งแปลกออกไปจากบรรยากาศในพระวิหาร

ไม่พบว่ามีการนมัสการประจำปี อาจจะเนื่องจากอยู่ที่วัดร้างกลางทุ่งนา ห่างไกลจากชุมชนมาก
10
บทความพระเครื่องและสาระน่ารู้ / พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ กรกฎาคม 20, 2017, 05:27:03 pm »
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ หรือเรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันว่าวัดโพธิ์

ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระนอนที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพล ฯ ทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐคือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์

พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน
หน้า: [1] 2 3 ... 10

Stats

  • สยามมงคลอมูเล็ท เว็บไซต์พระเครื่อง วัตถุมงคล รวมร้านพระเครื่อง ประกาศให้บูชาพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง และสาระความรู้หลากหลายหาได้ที่นี่
  • ขับเคลื่อนโดย SMF 2.0.11 | SMF © 2016, Simple Machines
    SimplePortal 2.3.6 © 2008-2014, SimplePortal
  • SMF Theme Damaged by, Crip
  • XHTML
  • RSS
  • WAP2